Think Creative

Think Creative

วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

พัฒนาการทางศิลปะของเจ้าตัวน้อย

      ศิลปะ  จัดเป็นภาษาหนึ่งที่มนุษย์ใช้สื่อสาร  แสดงออกเพื่อเชื่อมโยงความคิดความเข้าใจเข้าด้วยกัน  ซึ่งการแสดงออกทางศิลปะนั้นมักจะแตกต่างกันออกไปตามจินตนาการและการสร้างสรรค์ของแต่ละบุคคล
     สำหรับเด็ก  จะมีพัฒนาการไปได้มากหรือน้อยเพียงใดนั้น  ก็ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม  โอกาสที่จะได้รับจากผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อจะส่งเสริมให้เด็กได้สะท้อนความคิดสร้างสรรค์ละจินตนาการของเค้าออกมาในหลายๆด้าน  เช่นจากการวาดภาพระบายสี  การปั้น  การเล่าเรื่อง  เป็นต้น

     ในการศึกษาค้นคว้าพัฒนาการทางศิลปะของเด็กนั้น  ได้แบ่งพัฒนาการทางศิลปะของเด็กไว้เป็น 5 ขั้นด้วยกันคือ

1.ขั้นขีดเขี่ย (Scribbling Stage) อายุระหว่าง 2-4 ปี  โดยในขั้นนี้แบ่งพัฒนาการออกเป็น 4 ขั้น คือ
     - Disorder Scribbling ( 2 ปี) เป็นขั้นที่มีการขีดเขียนแบบสะเปะสะปะ  ยุ่งเหยิง  ปราศจากความหมาย  เนื่องจากการประสานงานของกล้ามเนื้อมือยังไม่ดี
     - Longitudinal Scribbling ขั้นขีดเป็นเส้นยาวๆ  เด็กจะเคลื่อนแขนขีดได้เป็นเส้นยาวซ้ำหลายๆครั้ง  ทั้งแนวตั้งและแนวนอน  เริ่มมีการควบคุมกล้ามเนื้อมือได้ดีขึ้น
     - Circular Scribbling  เป็นขั้นที่เด็กสามารถลากเนเป็นวงกลมได้แล้ว  ซึ่งในระยะนี้การประสานงานของกล้ามเนื้อมือดีและสายตาขึ้น
     - Noming Scribbling  เป็นขั้นขีดเขียนที่มีความหมายมากขึ้น  โดยรูปที่วาดมักเป็นรูปจากสิ่งรอบตัว  เช่น  พ่อ แม่ พี่ น้อง 
     พัฒนาการทั้ง 4 ระยะนี้  มักขึ้นอยู่กับเด็กแต่ละคนว่าจะมีพัฒนาการเร็วถึงขั้น Noming Scribbling  ก่อน (นับว่าเป็นพัฒนาการที่สำคัญมาก) เพราะในขั้นนี้นอกจากเป็นการพัฒนาในเรื่องการเคลื่อนไหวแล้ว  ยังเป็นการพัฒนาการใช้ความคิด  จินตนาการอีกด้วย

2. ขั้นเริ่มขีดเขียน (Pre-Schematic Stage)  อายุระหว่าง 4-7 ปี  เป็นระยะเริ่มต้นการเขียนภาพอย่างมีความหมาย  การขีดเขียนจะปรากฎเป็นภาพชัดเจนมากขึ้น  สัมพันธ์กับความเป็นจริงของโลกภายนอกมากขึ้น  มีความหมายกับเด็กมากขึ้น
     - คนที่วาดอาจเป็น พ่อ แม่ พี่ น้อง ตุ๊กตาที่รัก สัตว์เลี้ยงตัวโปรด
     - ชอบใช้สีที่สะดุดตา  ไม่นึกถึงความเป็นจริงตามธรรมชาติ
     - ช่องไฟ  ภายในภาพยังไม่เป็นระเบียบ  สิ่งที่เขียนมักกระจัดกระจายไม่สัมพันธ์กัน
     - การออกแบบ  ไม่ค่อยมีหรือไม่มีเลย  นึกอะไรก็จะเขียนเลย

3. ขั้นขีดเขียน (Schematic Stage)  อายุระหว่าง 7-9 ปี  เป็นขั้นที่ขีดเขียนให้คล้ายของจริง  ดูได้จาก
     - คน  ยังไม่ค่อยเป็นรูปร่างคนเท่าไหร่  ซึ่งส่วนใดที่เด็กเห็นว่าสำคัญก็มักจะวาดส่วนนั้นให้ใหญ่เป็นพิเศษ  ส่วนที่ไม่สำคัญก็อาจตัดทิ้งไปเลย  ฉะนั้น  เรามักจะเห็นเด็กวัยนี้วาดภาพส่วนต่างๆขาดหายไป  เช่น  ลำตัว  แขน  ขา  เท้า  หรือบางทีอาจจะเป็นภาพคนหัวโต  ตาโต  แขนโตไปเลยก็ได้  แล้วแต่ว่าเด็กจะให้ความสำคัญกับสิ่งใดมากที่สุด
     - การใช้สี  ส่วนมากใช้สีตรงกับความจริง  แต่มักใช้สีเดียวกันตลอด  เช่น  พระอาทิตย์ต้องสีแดง  พระจันทร์ต้องสีเหลือง  ท้องฟ้าต้องสีฟ้า  ใบไม้ต้องสีเขียว
     - ช่องว่าง  มีการใช้เส้นฐานแล้วเขียนทุกอย่างสัมพันธ์กันบนเส้นฐาน  เช่น  วาดรูปคน  สุนัข  ต้นไม้  บ้านอยู่บนเส้นเดียวกัน  ภาพที่ออกมาจะเป็นลำดับเหตุการณ์ ส่วนสูง  ขนาด  ยังไม่มีความสัมพนธ์กัน
     - งานออกแบบไม่ค่อยดี  มักเขียนตามความพอใจของตนมากกว่า

4. ขั้นวาดภาพของจริง (The Drawing Realism )  อายุระหว่าง 9-11 ปี  เป็นขั้นเริ่มต้นการขีดเขียนอย่างของจริง  เนื่องจากระยะนี้เด็กเริ่มมีการรวมกลุ่มโดยแบ่งแยกชาย  หญิง  เด็กผู้ชายชอบการผาดโผน  เด็กผู้หญิงชอบการแต่งตัว  ดังนั้น  เรืองราวการขีดเขียนจึงแสดงออกตามแต่ละบุคคล
     - คน  จะเน้นเรื่องเพศด้วยเครื่องแต่งตัว  แต่กระด้างๆ
     - สี  ใช้ตามความเป็นจริง  แต่อาจมีแทรกความรู้สึกเข้าไป  เช่น  บ้านคนจนอาจใช้สีมัวๆ  บ้านคนรวยอาจใช้สีสดใส
     - ช่องว่าง  ทุกอย่างในช่องว่างเหลื่อมล้ำกันได้  เช่น  ต้นไม้บังท้องฟ้า  วาดฟ้าคลุมไปถึงพื้นดิน  รูปผู้หญิงมักเน้นลวดลาย  รูปผู้ชายมักเป็นเรื่องราวการต่อสู้
     การจัดวัตถุให้สัมพันธ์กันเป็นเรื่องสำคัญมากในระยะนี้  เพราะเป็นระยะแรกของพัฒนาการทางการรับรู้ทางสายตา  ซึ่งนำไปสู่การวาดภาพสามมิติได้อีกต่อหนึ่ง
     - การออกแบบ  ประสบการณ์ของเด็กจะทำให้เด็กมีการออกแบบมากขึ้น  เป็นธรรมชาติมากขึ้น
 5. ขั้นตอนการใช้เหตุผล (The Stage of Reasoning)  อายุระหว่าง 11-12 ปี  ขั้นการใช้เหตุผลระยะเข้าสู่วัยรุ่น  เป็นระยะที่เด็กแสดงออกมาอย่างไม่รู้สึกตัว  เช่น  เอาไม้บรรมัด  ดินสอมาร่อนแล้วทำเสียงเครื่องบิน  เด็กจะทำอย่างเป็นอิสระและสนุกสนาน 
     - การวาดคน  จะเห็นข้อต่อของคน  ซึ่งเป็นระยะที่เด็กเริ่มค้นพบ  เสื้อผ้ามีรอยพลิ้วไหว  มีรคอยย่น  รอยยับ  คนแก่-เด็กต่างกัน  ด้านสัดส่วนก็ใกล้ความจริง  มีรายละเอียดเพิ่มมากขึ้นแต่จะเป็นรายละเอียดที่จำเป็นเท่านั้น  เน้นสัดส่วนสำคัญที่เกินความจริง  ชอบวาดตนเอง  แสดงความรู้สึกทางร่างกายมากกว่าคุณลักษณะภายนอก
     - สี  แบ่งออกเป็น 2 พวก  พวกแรกจะใช้สีตามความเป็นจริง (Visually Minded)  ส่วนอีกพวกมักใช้สีตามอารมณ์และความรู้สึกของตนเอง (Non Visually Minded)  มักแสดงออกโดยเน้นความสัมพันธ์ทางอารมณ์กับโลกภายนอก  นับเป็นการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ทางศิลปะ
     - ช่องว่าง  พวก Visually Minded  เด็กเริ่มรู้จักเส้นระดับ  รูปเริ่มมี 3 มิติ  โดยการจัดขนาดวัตถุเล็กลงตามลำดับ  ระยะใกล้ไกล  ส่วนพวก Non Visually Minded มักไม่ค่อยใช้รูป 3 มิติ  ชอบวาดภาพคนและมักเขียนโดยใช้ตนเองเป็นผู้แสดง  สิ่งแวดล้อมจะเขียนเมื่อจำเป็นเท่านั้น
     - การออกแบบ  พวก Visually Minded ชอบออกแบบทางสวยงาม  พวก Non Visually Minded  มักมองทางประโยชน์  อารมณ์  แต่ทั้งนี้เป็นเพียงการเริ่มต้นเท่านั้น  เด็กจะยังไม่ค่อยเข้าใจในเรื่องของการออกแบบอย่างจริงจัง

    





0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น