สวัสดีค่ะเด็กๆ ปิดเทอมคราวนี้ เด็กๆคงได้หยุดพักผ่อนกันยาวเลยทีเดียว ว่าแต่ช่วงวันที่ได้หยุดยาวๆกันแบบนี้เด็กๆได้ทำอะไรกันมาบ้างคะ ส่วนคุณครูก็มีโอกาสได้อ่านเรื่องราวดีๆ เลยอยากนำมาฝากกันค่ะ
เอาล่ะ ในเมื่อได้พักกันมาเต็มที่แล้ว งั้นเรามาดูกันซิว่ากิจกรรมที่พวกเราได้ทำกันมา มีกิจกรรมอะไรบ้างที่จัดว่าเป็นกิจกรรมที่ช่วยเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์
1.กิจกรรมที่ฝึกหาแนวคิด (Concept) คือการที่เด็กๆได้รับการฝึกให้มีการรับรู้ที่กว้าง แนวคิดก็จะกว้าง ทำให้เด็กๆสามารถนำแนวคิดนั้นมาคิดต่อยอดสิ่งใหม่ๆ ทดแทนสิ่งที่เคยมี เช่น เมื่อได้ยินเสียงกริ่งโทรศัพท์ เราจะหยุดกิจกรรมที่ทำอยู่เพื่อรีบไปรับโทรศัพท์ ถ้าเราคิดว่าการรับโทรศัพท์นั้นมีแนวคิดคือ "เป็นการดึงดูดความสนใจ" สิ่งที่เราสามารถคิดต่อไปคือ สิ่งที่ดึงความสนใจ ไม่จำเป็นต้องเป็นเสียงกริ่งอย่างเดียว อาจเป็นแสง การสั่นสะเทือน หรืออาจเป็นกลิ่นก็ได้
2.กิจกรรมที่ฝึกความคิดเลียนแบบธรมชาติ (Borrow) คือการนำคุณลักษณะทางรูปธรรมชาติหรือนามธรรมของสิ่งหนึ่งไปใช้กับความคิดใหม่ๆ เช่น ใช้ลักษณะทางกายภาพรูปร่างของปลาที่ว่ายน้ำโดยมีแรงเสียดทานน้อย นำไปสร้างโครงสร้างเรือหรือเครื่องบิน เพื่อให้เคลื่อนที่ได้เร็วขึ้น ประหยัดพลังงานมากขึ้น หรือเลียนแบบการสร้างภูมิคุ้มกันโรคตามธรรมชาติโดยการผลิตวัคซีนที่มีลักษณะคล้ายเชื้อโรค แต่ไม่ก่อให้เกิดโรคเพื่อให้มนุษย์สร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคได้
3.กิจกรรมที่ฝึกความคิด "มันเป็นอะไรได้บ้าง" (Something method) คือกิจกรรมที่เด็กๆชอบเล่นอย่างหนึ่งคือการทายอะไรเอ่ย เพื่อฝึกให้เด็กได้ใช้ทั้งความคิดและจินตนาการ ซึ่งถ้าเด็กๆได้ฝึกบ่อยๆก็จะเกิดความคิดที่หลากหลายรูปแบบ ไม่ยึดติดกับสิ่งๆเดียว เช่น แก้วน้ำใช้ทำอะไรได้บ้าง ใส่น้ำ ใส่ดินสอ วาดวงกลม เลี้ยงปลา แจกัน ฯลฯ
4.กิจกรรมฝึกความคิดดัดแปลง (Modify) คือการฝึกได้กับสิ่งของ วิธีการทำงาน วิธีการเล่น ตัดสิ่งที่ไม่ดีออก เพิ่มส่วนที่ดีแทนไปเรื่อยๆ เช่น บริษัทโซนี ประเทศญี่ปุ่น สิ่งที่พนักงานเสนอ...ถ้าดีกว่า แม้จะเป็นการประหยัดเวลาตั้งแต่ 30 วินาทีขึ้นไป ก็จะได้รับการพิจารณา ถ้านำไปใช้ พนักงานคนนั้นก็จะได้รับ Promotion
5.กิจกรรมฝึกการเชื่อมโยง (Combination) คือการฝึกนำสิ่งที่มีประโยชน์หลายอย่างมารวมกัน เช่น บันไดติดล้อ เครื่องแฟกซ์ (เป็นทั้งเครื่องถ่ายสำเนา โทรศัพท์ และส่งเอกสาร)
เด็กที่ได้รับการส่งเสริมให้คิดได้หลายๆรูปแบบ ไม่ีตำหนิ ไม่ปิดกั้นอย่างสม่ำเสมอ เท่ากับเป็นการบริหารสมอง ซึ่งเมื่อเด็กโตขึ้นก็จะยังคงมีความคิดสร้างสรรค์ติดตัวอยู่ เป็นนักคิด นักปฎิบัติ นักแก้ปัญหา ที่จะประสบความสำเร็จในชีวิตมากกว่าคนอื่นๆ
ข้อมูลจาก : หนังสือเลี้ยงลูกอย่างไรให้เก่ง ดี มีสุข, สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
คุณครูทุกคนขอแนะนำตัวดังนี้ค่ะ
-
[image: pencil_rolling_md_wht]
[image: เปิ้ล]
[image: นุ้ย]
...
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น