Think Creative

Think Creative

วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Global Art Mini Competition

วันนี้พี่โกบี้มีภาพโฉมหน้ากลุ่มของน้องๆที่ได้รับรางวัลในงานประกวดวาดภาพระบายสี ( Global Art Mini competition )มาฝาก

น้องๆกลุ่ม A


น้องๆกลุ่ม B

น้องๆกลุ่ม C

และน้องๆกลุ่ม D
ภาพรวมบางส่วนในงานวันนั้น..!

วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

handicraft สุดเท่ห์ของน้องๆประจำเดือนกุมภาพันธ์

       กลับมาพบกันอีกครั้งแล้วนะคร้าบ...สำหรับกิจกรรมดีๆส่งท้ายเดือนแห่งความรัก
คราวนี้พบกับงานประดิษฐ์ที่มาในรูปแบบ two in one ที่มีชื่อว่า รถบอลลูนพองลม
       อันดับแรกน้องๆจะได้เรียนรู้การทำงานแบบ2มิติ เพราะตัวงานที่น้องๆจะได้ทำ
จะเป็นพื้นผิวเรียบๆซึ่งน้องๆสามารถใส่ความคิดสร้างสรรค์ลงไป ด้วยการระบายสี
หรือวาดต่อเติมให้เป็นรถที่มีลายเฉพาะตัวได้ตามจินตนาการเลยคร้าบ
       และเมื่อน้องๆได้แปลงโฉมเพิ่มสีสันและลวดลายรถบอลลูนเรียบร้อย ก็จะมาถึง
ขั้นตอนสุดท้ายในการทำให้รถพองตัว ด้วยการเป่าลมทำให้รถแบนๆกลายเป็นรถบอลลูน
ในรูปแบบ3มิติ
       ตอนนี้ก็ถึงเวลาอันสมควรแล้วนะคร้าบ..เราตามมาดูหน้าตาของรถในจินตนาการ
ของน้องๆกันเลยดีกว่า..........





วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ช่วยในการเสริมความคิดสร้างสรรค์

     สวัสดีค่ะเด็กๆ  ปิดเทอมคราวนี้  เด็กๆคงได้หยุดพักผ่อนกันยาวเลยทีเดียว  ว่าแต่ช่วงวันที่ได้หยุดยาวๆกันแบบนี้เด็กๆได้ทำอะไรกันมาบ้างคะ  ส่วนคุณครูก็มีโอกาสได้อ่านเรื่องราวดีๆ  เลยอยากนำมาฝากกันค่ะ
   
     เอาล่ะ  ในเมื่อได้พักกันมาเต็มที่แล้ว  งั้นเรามาดูกันซิว่ากิจกรรมที่พวกเราได้ทำกันมา  มีกิจกรรมอะไรบ้างที่จัดว่าเป็นกิจกรรมที่ช่วยเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์
     1.กิจกรรมที่ฝึกหาแนวคิด (Concept) คือการที่เด็กๆได้รับการฝึกให้มีการรับรู้ที่กว้าง  แนวคิดก็จะกว้าง  ทำให้เด็กๆสามารถนำแนวคิดนั้นมาคิดต่อยอดสิ่งใหม่ๆ  ทดแทนสิ่งที่เคยมี  เช่น  เมื่อได้ยินเสียงกริ่งโทรศัพท์  เราจะหยุดกิจกรรมที่ทำอยู่เพื่อรีบไปรับโทรศัพท์  ถ้าเราคิดว่าการรับโทรศัพท์นั้นมีแนวคิดคือ "เป็นการดึงดูดความสนใจ" สิ่งที่เราสามารถคิดต่อไปคือ สิ่งที่ดึงความสนใจ  ไม่จำเป็นต้องเป็นเสียงกริ่งอย่างเดียว  อาจเป็นแสง  การสั่นสะเทือน  หรืออาจเป็นกลิ่นก็ได้
     2.กิจกรรมที่ฝึกความคิดเลียนแบบธรมชาติ (Borrow) คือการนำคุณลักษณะทางรูปธรรมชาติหรือนามธรรมของสิ่งหนึ่งไปใช้กับความคิดใหม่ๆ  เช่น  ใช้ลักษณะทางกายภาพรูปร่างของปลาที่ว่ายน้ำโดยมีแรงเสียดทานน้อย  นำไปสร้างโครงสร้างเรือหรือเครื่องบิน  เพื่อให้เคลื่อนที่ได้เร็วขึ้น  ประหยัดพลังงานมากขึ้น  หรือเลียนแบบการสร้างภูมิคุ้มกันโรคตามธรรมชาติโดยการผลิตวัคซีนที่มีลักษณะคล้ายเชื้อโรค  แต่ไม่ก่อให้เกิดโรคเพื่อให้มนุษย์สร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคได้
     3.กิจกรรมที่ฝึกความคิด "มันเป็นอะไรได้บ้าง" (Something method)  คือกิจกรรมที่เด็กๆชอบเล่นอย่างหนึ่งคือการทายอะไรเอ่ย  เพื่อฝึกให้เด็กได้ใช้ทั้งความคิดและจินตนาการ  ซึ่งถ้าเด็กๆได้ฝึกบ่อยๆก็จะเกิดความคิดที่หลากหลายรูปแบบ  ไม่ยึดติดกับสิ่งๆเดียว  เช่น  แก้วน้ำใช้ทำอะไรได้บ้าง  ใส่น้ำ  ใส่ดินสอ  วาดวงกลม  เลี้ยงปลา  แจกัน ฯลฯ
     4.กิจกรรมฝึกความคิดดัดแปลง (Modify) คือการฝึกได้กับสิ่งของ  วิธีการทำงาน  วิธีการเล่น  ตัดสิ่งที่ไม่ดีออก  เพิ่มส่วนที่ดีแทนไปเรื่อยๆ  เช่น  บริษัทโซนี ประเทศญี่ปุ่น  สิ่งที่พนักงานเสนอ...ถ้าดีกว่า  แม้จะเป็นการประหยัดเวลาตั้งแต่ 30 วินาทีขึ้นไป  ก็จะได้รับการพิจารณา  ถ้านำไปใช้  พนักงานคนนั้นก็จะได้รับ Promotion
     5.กิจกรรมฝึกการเชื่อมโยง (Combination) คือการฝึกนำสิ่งที่มีประโยชน์หลายอย่างมารวมกัน  เช่น  บันไดติดล้อ  เครื่องแฟกซ์ (เป็นทั้งเครื่องถ่ายสำเนา โทรศัพท์ และส่งเอกสาร)

     เด็กที่ได้รับการส่งเสริมให้คิดได้หลายๆรูปแบบ  ไม่ีตำหนิ  ไม่ปิดกั้นอย่างสม่ำเสมอ  เท่ากับเป็นการบริหารสมอง  ซึ่งเมื่อเด็กโตขึ้นก็จะยังคงมีความคิดสร้างสรรค์ติดตัวอยู่  เป็นนักคิด  นักปฎิบัติ  นักแก้ปัญหา  ที่จะประสบความสำเร็จในชีวิตมากกว่าคนอื่นๆ

     ข้อมูลจาก : หนังสือเลี้ยงลูกอย่างไรให้เก่ง ดี มีสุข, สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย

วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

พัฒนาการทางศิลปะของเจ้าตัวน้อย

      ศิลปะ  จัดเป็นภาษาหนึ่งที่มนุษย์ใช้สื่อสาร  แสดงออกเพื่อเชื่อมโยงความคิดความเข้าใจเข้าด้วยกัน  ซึ่งการแสดงออกทางศิลปะนั้นมักจะแตกต่างกันออกไปตามจินตนาการและการสร้างสรรค์ของแต่ละบุคคล
     สำหรับเด็ก  จะมีพัฒนาการไปได้มากหรือน้อยเพียงใดนั้น  ก็ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม  โอกาสที่จะได้รับจากผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อจะส่งเสริมให้เด็กได้สะท้อนความคิดสร้างสรรค์ละจินตนาการของเค้าออกมาในหลายๆด้าน  เช่นจากการวาดภาพระบายสี  การปั้น  การเล่าเรื่อง  เป็นต้น

     ในการศึกษาค้นคว้าพัฒนาการทางศิลปะของเด็กนั้น  ได้แบ่งพัฒนาการทางศิลปะของเด็กไว้เป็น 5 ขั้นด้วยกันคือ

1.ขั้นขีดเขี่ย (Scribbling Stage) อายุระหว่าง 2-4 ปี  โดยในขั้นนี้แบ่งพัฒนาการออกเป็น 4 ขั้น คือ
     - Disorder Scribbling ( 2 ปี) เป็นขั้นที่มีการขีดเขียนแบบสะเปะสะปะ  ยุ่งเหยิง  ปราศจากความหมาย  เนื่องจากการประสานงานของกล้ามเนื้อมือยังไม่ดี
     - Longitudinal Scribbling ขั้นขีดเป็นเส้นยาวๆ  เด็กจะเคลื่อนแขนขีดได้เป็นเส้นยาวซ้ำหลายๆครั้ง  ทั้งแนวตั้งและแนวนอน  เริ่มมีการควบคุมกล้ามเนื้อมือได้ดีขึ้น
     - Circular Scribbling  เป็นขั้นที่เด็กสามารถลากเนเป็นวงกลมได้แล้ว  ซึ่งในระยะนี้การประสานงานของกล้ามเนื้อมือดีและสายตาขึ้น
     - Noming Scribbling  เป็นขั้นขีดเขียนที่มีความหมายมากขึ้น  โดยรูปที่วาดมักเป็นรูปจากสิ่งรอบตัว  เช่น  พ่อ แม่ พี่ น้อง 
     พัฒนาการทั้ง 4 ระยะนี้  มักขึ้นอยู่กับเด็กแต่ละคนว่าจะมีพัฒนาการเร็วถึงขั้น Noming Scribbling  ก่อน (นับว่าเป็นพัฒนาการที่สำคัญมาก) เพราะในขั้นนี้นอกจากเป็นการพัฒนาในเรื่องการเคลื่อนไหวแล้ว  ยังเป็นการพัฒนาการใช้ความคิด  จินตนาการอีกด้วย

2. ขั้นเริ่มขีดเขียน (Pre-Schematic Stage)  อายุระหว่าง 4-7 ปี  เป็นระยะเริ่มต้นการเขียนภาพอย่างมีความหมาย  การขีดเขียนจะปรากฎเป็นภาพชัดเจนมากขึ้น  สัมพันธ์กับความเป็นจริงของโลกภายนอกมากขึ้น  มีความหมายกับเด็กมากขึ้น
     - คนที่วาดอาจเป็น พ่อ แม่ พี่ น้อง ตุ๊กตาที่รัก สัตว์เลี้ยงตัวโปรด
     - ชอบใช้สีที่สะดุดตา  ไม่นึกถึงความเป็นจริงตามธรรมชาติ
     - ช่องไฟ  ภายในภาพยังไม่เป็นระเบียบ  สิ่งที่เขียนมักกระจัดกระจายไม่สัมพันธ์กัน
     - การออกแบบ  ไม่ค่อยมีหรือไม่มีเลย  นึกอะไรก็จะเขียนเลย

3. ขั้นขีดเขียน (Schematic Stage)  อายุระหว่าง 7-9 ปี  เป็นขั้นที่ขีดเขียนให้คล้ายของจริง  ดูได้จาก
     - คน  ยังไม่ค่อยเป็นรูปร่างคนเท่าไหร่  ซึ่งส่วนใดที่เด็กเห็นว่าสำคัญก็มักจะวาดส่วนนั้นให้ใหญ่เป็นพิเศษ  ส่วนที่ไม่สำคัญก็อาจตัดทิ้งไปเลย  ฉะนั้น  เรามักจะเห็นเด็กวัยนี้วาดภาพส่วนต่างๆขาดหายไป  เช่น  ลำตัว  แขน  ขา  เท้า  หรือบางทีอาจจะเป็นภาพคนหัวโต  ตาโต  แขนโตไปเลยก็ได้  แล้วแต่ว่าเด็กจะให้ความสำคัญกับสิ่งใดมากที่สุด
     - การใช้สี  ส่วนมากใช้สีตรงกับความจริง  แต่มักใช้สีเดียวกันตลอด  เช่น  พระอาทิตย์ต้องสีแดง  พระจันทร์ต้องสีเหลือง  ท้องฟ้าต้องสีฟ้า  ใบไม้ต้องสีเขียว
     - ช่องว่าง  มีการใช้เส้นฐานแล้วเขียนทุกอย่างสัมพันธ์กันบนเส้นฐาน  เช่น  วาดรูปคน  สุนัข  ต้นไม้  บ้านอยู่บนเส้นเดียวกัน  ภาพที่ออกมาจะเป็นลำดับเหตุการณ์ ส่วนสูง  ขนาด  ยังไม่มีความสัมพนธ์กัน
     - งานออกแบบไม่ค่อยดี  มักเขียนตามความพอใจของตนมากกว่า

4. ขั้นวาดภาพของจริง (The Drawing Realism )  อายุระหว่าง 9-11 ปี  เป็นขั้นเริ่มต้นการขีดเขียนอย่างของจริง  เนื่องจากระยะนี้เด็กเริ่มมีการรวมกลุ่มโดยแบ่งแยกชาย  หญิง  เด็กผู้ชายชอบการผาดโผน  เด็กผู้หญิงชอบการแต่งตัว  ดังนั้น  เรืองราวการขีดเขียนจึงแสดงออกตามแต่ละบุคคล
     - คน  จะเน้นเรื่องเพศด้วยเครื่องแต่งตัว  แต่กระด้างๆ
     - สี  ใช้ตามความเป็นจริง  แต่อาจมีแทรกความรู้สึกเข้าไป  เช่น  บ้านคนจนอาจใช้สีมัวๆ  บ้านคนรวยอาจใช้สีสดใส
     - ช่องว่าง  ทุกอย่างในช่องว่างเหลื่อมล้ำกันได้  เช่น  ต้นไม้บังท้องฟ้า  วาดฟ้าคลุมไปถึงพื้นดิน  รูปผู้หญิงมักเน้นลวดลาย  รูปผู้ชายมักเป็นเรื่องราวการต่อสู้
     การจัดวัตถุให้สัมพันธ์กันเป็นเรื่องสำคัญมากในระยะนี้  เพราะเป็นระยะแรกของพัฒนาการทางการรับรู้ทางสายตา  ซึ่งนำไปสู่การวาดภาพสามมิติได้อีกต่อหนึ่ง
     - การออกแบบ  ประสบการณ์ของเด็กจะทำให้เด็กมีการออกแบบมากขึ้น  เป็นธรรมชาติมากขึ้น
 5. ขั้นตอนการใช้เหตุผล (The Stage of Reasoning)  อายุระหว่าง 11-12 ปี  ขั้นการใช้เหตุผลระยะเข้าสู่วัยรุ่น  เป็นระยะที่เด็กแสดงออกมาอย่างไม่รู้สึกตัว  เช่น  เอาไม้บรรมัด  ดินสอมาร่อนแล้วทำเสียงเครื่องบิน  เด็กจะทำอย่างเป็นอิสระและสนุกสนาน 
     - การวาดคน  จะเห็นข้อต่อของคน  ซึ่งเป็นระยะที่เด็กเริ่มค้นพบ  เสื้อผ้ามีรอยพลิ้วไหว  มีรคอยย่น  รอยยับ  คนแก่-เด็กต่างกัน  ด้านสัดส่วนก็ใกล้ความจริง  มีรายละเอียดเพิ่มมากขึ้นแต่จะเป็นรายละเอียดที่จำเป็นเท่านั้น  เน้นสัดส่วนสำคัญที่เกินความจริง  ชอบวาดตนเอง  แสดงความรู้สึกทางร่างกายมากกว่าคุณลักษณะภายนอก
     - สี  แบ่งออกเป็น 2 พวก  พวกแรกจะใช้สีตามความเป็นจริง (Visually Minded)  ส่วนอีกพวกมักใช้สีตามอารมณ์และความรู้สึกของตนเอง (Non Visually Minded)  มักแสดงออกโดยเน้นความสัมพันธ์ทางอารมณ์กับโลกภายนอก  นับเป็นการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ทางศิลปะ
     - ช่องว่าง  พวก Visually Minded  เด็กเริ่มรู้จักเส้นระดับ  รูปเริ่มมี 3 มิติ  โดยการจัดขนาดวัตถุเล็กลงตามลำดับ  ระยะใกล้ไกล  ส่วนพวก Non Visually Minded มักไม่ค่อยใช้รูป 3 มิติ  ชอบวาดภาพคนและมักเขียนโดยใช้ตนเองเป็นผู้แสดง  สิ่งแวดล้อมจะเขียนเมื่อจำเป็นเท่านั้น
     - การออกแบบ  พวก Visually Minded ชอบออกแบบทางสวยงาม  พวก Non Visually Minded  มักมองทางประโยชน์  อารมณ์  แต่ทั้งนี้เป็นเพียงการเริ่มต้นเท่านั้น  เด็กจะยังไม่ค่อยเข้าใจในเรื่องของการออกแบบอย่างจริงจัง

    





วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ภาพบรรยากาศเข้าค่ายดินสอสี



 ค่ายดินสอสี..!




น้องๆคนไหนที่พลาดโอกาศไปเข้าค่ายในปีนี้..เรามีภาพ
บรรยากาศของความสนุกในวันนั้นมาฝากให้ได้ชมกันค่ะ






กินอะไรกันหว่า..น่าอร่อยเชียว


รวมภาพในวันนั้น

วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2554

แอบดูเด็กๆวันสบายๆ กับงานประดิษฐ์


วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ทำไมวันเกิดต้องมีเค้ก


Happy Birthday to you    Happy Birthday to you    Happy Birthday   Happy Birthday    Happy Birthday to you

น้องๆเคยสงสัยกันมั้ยคะว่า  ทำไมวันเกิดของเราทุกๆปีถึงต้องมีเค้กเป็นขนมที่ใช้เลี้ยงกันในวันเกิด  มาค่ะ  วันนี้คุณครูมีประวัติของเค้กวันเกิดมาเล่าให้ฟัง

          จากการสำรวจข้อมูลทางประวัติศาสตร์แล้วพบว่า  ทฤษฎีเกี่ยวกับต้นกำเนิดของธรรมเนียมการใช้เค้กวันเกิดเพื่อเป็นสัญญ,ักษณ์ในการฉลองวันเกิดนั้นมีด้วยกันหลากหลายทฤษฎี  บางคนเชื่อว่ามีมาตั้งแต่สมัยโบราณ  ในขณะที่บางคนเชื่อว่าเริ่มขึ้นในยุคกลาง (Middle Ages)

          ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์อาหารเชื่อว่า  เค้กวันเกิดมีจุดเริ่มต้นมาตั้งแต่สมัยโบราณกาลแล้ว  เนื่องจากคนสมัยก่อนชอบทำขนมอบจำพวกขนมเค้กและขนมปังเพื่อใช้ในงานพิธีกรรมทางศาสนา  งานแต่งงาน  งานศพ  รวมถึงงานวันเกิดด้วย

          ในสมัยกรีกมีร่องรอยทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับตำนานเค้กวันเกิดระบุเอาไว้ว่า  เป็นขนมหวานสำหรับบูชาเทพีจัทรา  โดยชาวเมืองกรีกนิยมทำเค้กน้ำผึ้ง  หรือขนมปังหวานรูปวงกลมเพื่อนำไปบูชาเทพีจันทราที่วิหารอาร์เทอมิส

          ขณะที่นักทฤษำีบางสำนักเชื่อว่า  จุดเริ่มต้นของเค้กวันเกิดมีขึ้นครั้งแรกในประเทศเยอรมนีช่วงยุคกลาง  ซึ่งเป็นยุคแห่งความรุ่งเรืองของศาสนาคริสต์  โดยชาวคริสต์จะทำขนมปังหวานเป็นรูปพระเยซูทรงอยู่ในห่อตัวในประสูติ  เพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ที่ระลึกในวันคล้ายวันประสูติของพระองค์

          ในเวลาต่อมา  ชาวเมืองเบียร์ก็เลยได้ไอเดียใหม่ๆ  ทำเค้กเพื่อฉลองวันเกิดให้แก่เด็กๆ  และจากนั้นมา  ธรรมเนียมเช่นนี้ก็ถูกปฎิบัติสืบทอดต่อกันมา  จวบจนกระทั่งทุกวันนี้

          ทั้งนี้  ไม่ว่าเค้กวันเกิดจะเกิดขึ้นจากทฤษฎีใดก็ตาม  จะสังเกตได้ว่าจุดเริ่มต้นก็ล้วนมาจากทางฝั่งยุโรปทั้งสิ้น  ดังนั้น  จึงอาจจะสรุปได้ว่า  ธรรมเนียมการเป่าเค้กวันเกิดเริ่มต้นจากฝั่งตะวันตก

          เป็นยังไงมั่งคะน้องๆ  คราวนี้...เราก็รู้ถึงที่มาของเค้กวันเกิดกันแล้วใช่มั้ย  งั้นคราวหน้า  เรามาดูกันต่อว่า  เรื่องเทียนที่อยู่บนเค้กนั้น  มันมีที่มาอย่างไรอีกบ้าง

          คราวนี้คุณครูของไปหาซื้อเค้กวันเกิดให้กับคุณแม่ของคุณครูก่อนนะคะ  Happy Birthday to every body ค่ะ